-
30 NOV 2022
การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันสำหรับการจัดการความรู้ของสํานักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
สาระสังเขป
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) จัดทำเว็บแอปพลิเคชันสำหรับการจัดการความรูของสํานักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ (2) เพื่อพัฒนาแนวทางการจัดการความรู้ของบุคลากร สํานักวิทยบริการฯ และ (3) เป็นแหล่งองค์ความรู้ที่มีฐานข้อมูลความรู้เพื่อการแบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสังคม ชุมชน ได้ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน โดยบุคลากรสามารถเข้าใช้งาน และมีส่วนร่วมในการจัดเก็บข้อมูลความรู้ ถ่ายทอดความรู้ และเข้าถึงความรู้ได้โดยสะดวก สามารถพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ และนำความรู้มาใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนสามารถจัดการความรู้ผ่านเว็บแอปพลิเคชันดังกล่าวได้
ผู้วิจัยได้ดำเนินการพัฒนาระบบการจัดการความรู้ภายในองค์กร โดยการออกแบบ และร่วมกับผู้เชี่ยวชาญพัฒนาเว็บแอปพลิเคชัน เพื่อให้บุคลากรทุกคนสามารถเข้าใช้งาน และเข้าถึงข้อมูลความรู้ผ่านทางเว็บบราวเซอร์ทั้งบนเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เคลื่อนที่ ด้วยเทคนิคการออกแบบหน้าเว็บไซต์แบบ Responsive Web Design เพื่อให้บุคลากรสามารถจัดการข้อมูลความรู้ และเข้าถึงความรู้ได้โดยสะดวก ผลการวิจัยพบว่า ได้จัดทำเว็บไซต์ระบบการจัดการความรู้เสร็จสิ้นแล้ว โดยได้จัดเก็บข้อมูล Job description ของบุคลากรทุกคน และคู่มือปฏิบัติงาน ได้ครบทั้ง 3 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานผู้อำนวยการ ศูนย์วิทยบริการ และศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร บุคลากรสามารถเผยแพร่คู่มือปฏิบัติงาน งานวิจัย และบทความ ซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่อยู่ในตัวบุคคล และองค์ความรู้ที่อยู่ภายในองค์การ ผ่านเว็บไซต์ดังกล่าวได้ และสามารถใช้เป็นแหล่งจัดเก็บข้อมูลองค์ความรู้ เพื่อการเผยแพร่ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ที่สามารถเข้าถึงข้อมูลความรู้ผ่านระบบการจัดการความรู้ได้ทั้งจากภายในและภายนอกหน่วยงาน
Abstract
The purposes of this research were (1) to develop a web application for Knowledge management of the Academic Resources and Information Technology Center (ARITC) of Nakhon Sawan Rajabhat University, (2) to study the development process of knowledge management for staff to use web application for the knowledge management process, and (3) to develop a knowledge sharing in community knowledge management process both inside and outside the organization. The organization personnel can both access and participate in data storage.
The researcher collaborated with the programmer to develop the Knowledge Management process patterns of a web application for the ARITC staff to be able to access and share information through the Knowledge Management system via web browsers on both computer and mobile devices with Responsive Web Design techniques. Staff can use all information from the Web Application of the Knowledge Management which enhanced to access knowledge. The results showed that the Web Application for Knowledge Management has been completely developed and can be collected the organizational job description data, and operational manuals of the staff who worked in the three departments, which are the Office of the Director, Resources Center (library), and the Information and Communication Technology Center. Furthermore, the staff can publish their operational manuals, research papers, and articles, which are the knowledge that exists in the person, and the knowledge within the organization via the Web Application for Knowledge Management. The developed Web Application is a contribution of personnel knowledge sharing from all departments of the organization, which enhance the performance of the organization and provide systematically operated to improve personnel productivity.
รายละเอียด
สํานักวิทยบริการฯ ได้ดําเนินการจัดการความรู้ภายในหน่วยงาน ตามแผนการจัดการความรู้ ในรูปแบบและตามบริบทของหน่วยงาน ซึ่งสอดคล้องกับกระบวนการในการบริหารจัดการภาครัฐ และการประกันคุณภาพการศึกษา ตามที่ได้รายงานผลต่อมหาวิทยาลัยเป็นประจำทุกปี ในกระบวนการจัดการความรู้ที่ผ่านมาพบว่า มีข้อมูลความรู้จำนวนมากกระจัดกระจายอยู่บนเว็บไซต์ ในตัวบุคคล และเอกสาร ทั้งในรูปแบบคู่มือปฏิบัติงาน บทความ งานวิจัย และเอกสารดิจิทัลที่จัดเก็บรวบรวมไว้เป็นระบบภายในหน่วยงาน ตามกระบวนการ ISO 9001:2015
ผู้วิจัยในฐานะที่ได้รับมอบหมายให้มีส่วนร่วมในการรับผิดชอบงานด้านการจัดการความรู้ จึงเกิดแนวความคิดในการพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันสำหรับการจัดการความรู้ เพื่อใช้ในการจัดเก็บข้อมูลองค์ความรู้ภายในหน่วยงานให้สามารถเข้าถึงข้อมูลความรู้ และมีการนำกลับมาใช้ภายในองค์กร รวมถึงความรู้ที่อยู่ในตัวคน ซึ่งเป็นบุคคลที่มีความรู้ความชำนาญในงานที่ปฏิบัติ ซึ่งสามารถถ่ายทอดหรือแบ่งปันความรู้ให้แก่ผู้อื่นได้ โดยมองว่าระบบดังกล่าวจะสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการจัดเก็บ รวบรวม และค้นคืนความรู้ภายในหน่วยงาน และสามารถเข้าถึงความรู้ เพื่อนำมาพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ และถ่ายทอดแบ่งปันความรู้ให้แก่ผู้อื่นได้
วัตถุประสงค๋การวิจัย
1. เพื่อจัดทำเว็บแอปพลิเคชันสำหรับการจัดการความรู้ของสํานักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
2. เพื่อพัฒนาแนวทางการจัดการความรู้ของบุคลากรสํานักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
3. เพื่อเป็นแหล่งองค์ความรู้ที่มีฐานข้อมูลความรู้เพื่อการแบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสังคม ชุมชนได้ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน
ขอบเขตของการวิจัย
ขอบเขตพื้นที่การวิจัย: สํานักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
ขอบเขตด้านประชากร และกลุ่มเป้าหมาย: ประชากร และกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ บุคลากร และผู้บริหารที่มีส่วนร่วมในการจัดการความรู้ (KM) ของสํานักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
ขอบเขตเนื้อหาของการวิจัย: การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันและการนำเสนอข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้ของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ให้เป็นแหล่งองค์ความรู้ที่มีฐานข้อมูลความรู้สำหรับผู้ใช้งานที่สามารถเพิ่มเติมองค์ความรู้โดยผู้ปฏิบัติงานจากทุกที่ทุกเวลาโดยไม่จำกัด โดยบุคลากร ผู้ใช้บริการ หรือบุคคลทั่วไปสามารถอ่าน ศึกษา เพิ่มเติมความรู้ได้ผ่านทางเว็บบราวเซอร์ทั้งบนเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เคลื่อนที่ได้ทั้งจากภายในและภายนอกหน่วยงานวิธีการดำเนินการวิจัย
การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันเพื่อสนับสนุนการจัดการความรู้ในองค์กร ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาหลักการเกี่ยวกับกระบวนการจัดการความรู้ที่มีการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยเป็นเครื่องมือในการพัฒนาการจัดการความรู้ในองค์กร โดยพัฒนาในรูปแบบของ Responsive web design ที่สามารถตอบสนองต่อการใข้งานได้บนหลายอุปกรณ์ โดยมีขั้นตอนดังนี้ 1. การเก็บรวบรวมข้อมูล
2. การพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
3. การวิเคราะห์และออกแบบระบบ
4. การพัฒนาระบบ
5. การทดลองใช้งานระบบ และการปรับปรุงแก้ไข
6. การใช้งานระบบ และการจัดเก็บข้อมูลกรอบแนวคิดที่ใช้ในการทำวิจัย
ผู้วิจัยได้ศึกษาและนำกรอบแนวคิดจากกระบวนการจัดการความรู้ภายในองค์กรของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการและสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ นำมาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันสำหรับการจัดการความรูฯ ซึ่งประกอบด้วยกระบวนการ 7 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การบ่งชี้ความรู้ 2) การสร้างและแสวงหาความรู้ 3) การจัดความรู้ให้เป็น ระบบ 4) การประมวลและกลั่นกรองความรู้ 5) การเข้าถึงความรู้ 6) การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ และ7) การเรียนรู้
ผลการวิจัย:
สามารถพัฒนาเว็บแอบพลิเคชันสำหรับการจัดการความรู้ภายในองค์กร โดยการออกแบบ และร่วมกับผู้เชี่ยวชาญพัฒนาเว็บแอปพลิเคชัน เพื่อให้บุคลากรทุกคนสามารถเข้าใช้งาน และเข้าถึงข้อมูลความรู้ผ่านทางเว็บบราวเซอร์ทั้งบนเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เคลื่อนที่ ด้วยเทคนิคการออกแบบหน้าเว็บไซต์แบบ Responsive Web Design เพื่อให้บุคลากรสามารถจัดการข้อมูลความรู้ และเข้าถึงความรู้ได้โดยสะดวก โดยได้ดำเนินการจัดเก็บข้อมูล Job description ซึ่งเป็นความรู้พื้นฐานของบุคลากรครบทุกคน และจัดเก็บคู่มือปฏิบัติงาน ซึ่งเป็นองค์ความรู้ของบุคลากร ได้ครอบคลุมประชากรและกลุ่มเป้าหมายครบทั้ง 3 หน่วยงาน เข้าใช้งานได้ที่ https://knowledge.nsru.ac.th/
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. มีเว็บแอปพลิเคชันสำหรับการจัดการความรู้ของบุคลากรภายในหน่วยงานเพื่ออำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานและการให้บริการ
2. เป็นฐานข้อมูลความรู้ ที่มีการรวบรวมองค์ความรู้ที่กระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคล หรือเอกสารมาพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ภายในองค์กรอย่างเป็นระบบ เพื่อการแบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้
3. มีแนวทางและกระบวนการจัดการความรู้อย่างเป็นระบบ มีการสร้างและแสวงหาความรู้ การบ่งชี้ความรู้ การเข้าถึงความรู้ การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ และการเรียนรู้
4. เป็นแหล่งองค์ความรู้ที่มีข้อมูลสำหรับการจัดการความรู้ของบุคลากรภายในหน่วยงาน ที่สามารถใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ได้โดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่ได้ทั้งจากภายในและภายนอกองค์การ
5. สามารถนำผลการวิจัยและเว็บแอปพลิเคชันเพื่อการจัดการองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้กับหน่วยงานอื่นในสังคม ชุมชนได้
คำสำคัญ
เว็บแอปพลิเคชัน การจัดการความรู้ การบ่งชี้ความรู้ การเข้าถึงความรู้ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ Web Application Knowledge Management Knowledge Identification Knowledge Access Knowledge sharing
เอกสารเผยแพร่ในหน่วยงาน
องค์ความรู้
-
ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ -
ด้านคอมพิวเตอร์ -
ด้านห้องสมุด -
ด้านการบริหารจัดการ -
ด้านการบริการการศึกษา และด้านการบริการวิชาการ -
ด้านโสตทัศนศึกษา -
ด้านการวิจัย -
ด้านสังคม ศิลปะ และวัฒนธรรม